เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม เปิดโลกใหม่พืช GMOs

เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม ( Genetic Engineering ) คือกระบวนการในการนำความรู้ต่างๆ จากการศึกษาชีววิทยาในระดับโมเลกุล มาประยุกต์ใช้งานในการปรับเปลี่ยน,ดัดแปลง,หรือเคลื่อนย้าย โดยการตรวจสอบสารพันธุกรรมทั้ง DNA, ยีน มาทำให้เกิดประโยชน์ ปกติจะเป็นเทคโนโลยีกี่ตัดต่อยีน( Gene ) หรือเคลื่อนย้ายยีนจากสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ใส่เข้าไปในสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง
โดยมีเป้าหมายเพื่อให้มีคุณสมบัติต่างๆ ตามที่ต้องการ อาจมีการเพิ่มปริมาณยีนเพื่อทำให้ผลผลิตมีจำนวนมากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมอาจทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตในรูปแบบใหม่ ที่ไม่เคยปรากฏให้เห็นมาก่อนเลยในธรรมชาติก็ได้ ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมที่มีการใส่ยีน ที่สร้างอินซูลินเข้าไปในแบคทีเรียหรือยีสต์ เพื่อให้แบคทีเรียหรือยีสต์นั้นผลิตอินซูลินออกมา แล้วก็เพาะเลี้ยงให้มีจำนวนมากขึ้น เพื่อนำไปผลิตอินซูลินให้ได้ปริมาณมาก แล้วจึงนำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยเบาหวาน และสิ่งมีชีวิตที่ได้จากเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมที่เกิดจากการดัดแปลงพันธุกรรมก็จะถูกเรียกว่า สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ( Genetically Modified Organisms ; GMOs )
พืช GMOs หรือพืชดัดแปลงพันธุกรรม เป็นพืชที่ผ่านกระบวนการทางเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม เพื่อให้พืชเหล่านั้นมีลักษณะหรือคุณสมบัติที่จำเพาะเจาะจงตามต้องการ เช่น ต้านทานแมลงศัตรูได้ดีขึ้น สามารถทนทานต่อสภาพอากาศแห้งแล้งซึ่งไม่เหมาะกับการดำรงชีวิต หรือเพื่อเพิ่มโภชนาการให้กับพืชนั้นให้พืชมีปริมาณสารอาหารที่มากขึ้นเพียงพอกับความต้องการของร่างกายแม้จะบริโภคในปริมาณน้อยก็ตาม และในปัจจุบันพืชที่มีการนำออกมาจำหน่ายแล้วก็มีหลากหลายชนิด เช่น ข้าวโพด, มะเขือเทศ, ถั่วเหลือง, ฝ้าย, มันฝรั่ง, มะละกอ, สควอช และคาโนลา ข้อได้เปรียบของเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมที่ทำให้เกิดพืช GMOs ก็มีประโยชน์ในหลายด้าน เช่น ด้านการเกษตร เป็นการนำเทคโนโลยีมาช่วยทำให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น ผลมีขนาดใหญ่ขึ้น ผลมีน้ำหนักมากขึ้น การใช้เทคโนโลยีที่ทำให้พืชทนต่อสภาพที่แล้ง ใช้กับพืชที่ต้องการน้ำเป็นปริมาณมากๆ เช่นข้าว หรือข้าวที่ทนต่อความเป็นกรดเป็นด่างของดิน พืชที่ทนต่อศัตรูพืชก็จะใช้กับพืชที่เป็นที่ชื่นชอบของศัตรูพืชอย่างฝ้าย พืชที่ทนต่อเชื้อราหรือแบคทีเรีย หรือสามารถทำให้พืชนั้นทนทานต่อยาฆ่าแมลงก็สามารถทำได้ ดังนั้นเมื่อพืชไม่ต้องกังวลเรื่องศัตรูพืชแล้วก็ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมี ปริมาณสารเคมีตกค้างก็จะค่อยๆสลายไปตามอายุการใช้งาน และเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือการขนส่งซึ่งบางครั้งอาจกินเวลานานจนกระทั่งสินค้าเสียหายเน่าเสียไปก่อน ก็จะทำให้พืชนั้นสุกช้าลง เช่นมะเขือเทศ ประโยชน์ด้านต่อไปก็สำคัญไม่แพ้กันก็คือประโยชน์ด้านการพาณิชย์ จะใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมทำให้พืชต่างๆนั้นได้ผลผลิตที่เร็วขึ้นไม่ต้องผ่านกระบวนการเติบโตตามธรรมชาติมักใช้กับพืชที่เป็นที่ต้องการเช่นดอกไม้ หรือแม้กระทั่งการดัดแปลงพันธุกรรมที่ทำให้เกิดพืชชนิดใหม่ที่แปลกแตกต่างจากธรรมชาติ เช่นดอกไม้สีดำ กุหลาบสีน้ำเงิน ดอกเยอบีร่าที่มีกลีบดอกหลายสีในดอกเดียวกัน เมื่อสามารถผลิตสินค้าได้ในปริมาณที่เพียงพอต่อการบริโภคก็ทำให้ระบบอุตสาหกรรมเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพื่อควบคุมในเรื่องมาตรฐาน และปริมาณการผลิตที่มากขึ้นอีก ต้นทุนต่ำลง โดยมีการใช้วัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตรมาเป็นวัสดุตั้งต้นการผลิตช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย ประโยชน์ในด้านต่อมาก็ถูกคิดค้นมาเพื่อให้มนุษย์มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น ก็คือการนำเทคโนโลยีมาใช้ในทางการแพทย์ อย่างการผลิตวัคซีน หรือยาต่างๆ การเพิ่มปริมาณสารอาหารหรือยาที่จำเป็นกับมนุษย์ในผลิตภัณฑ์ภาคการเกษตร ก็จะทำให้ผู้ที่บริโภคอาหารเข้าไปแล้วได้รับวัคซีนหรือยา หรือฮอร์โมนที่จำเป็นมากขึ้นด้วย สามารถช่วยแก้ไขภาวะขาดแคลนยา หรือขาดสารอาหารได้เป็นอย่างดีเยี่ยม เพราะผู้ที่ขาดสารอาหารก็คือขาดวิตามิน หรือแร่ธาตุ หรือสารชีวโมเลกุลบางตัว จำเป็นเป็นต้องได้รับการบำบัดด้วยการรับสิ่งที่ขาดนั้นเข้าไปในปริมาณที่เพียงพออย่างเร่งด่วน จำนวนคนที่เป็นโรคหรือขาดสารอาหารก็จะค่อยๆลดลงจนหมดไปในที่สุด
และการใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมเหล่านี้ย่อมเหมือนดาบสองคม ลืมไม่ได้ที่จะต้องพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วยเพื่อให้เกิดความสมดุลกับธรรมชาติ ซึ่งเทคโนโลยีอย่างแรกก็มาจากพืช GMOs ที่ทนทานต่อแมลงแล้วทำให้ปริมาณการใช้สารเคมีแล้วก็ยังมีการใช้เทคโนโลยีในการบำบัดเพิ่มอีกด้วย อย่างเช่นการผลิตปุ๋ยน้ำจุลินทรีย์ชีวภาพ หรือปุ๋ยก้อนชีวภาพ ซึ่งเราก็เรียกติดปากกันว่า ปุ๋ย EM นั่นเอง ถือเป็นการวางแผนอย่างรัดกุมที่สุดสำหรับการนำเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมมาใช้เพราะกว่าจะได้ลงมือทำกันจริงๆก็ต้องพยายามให้ข้อมูลกับประชาชนหรือกลุ่มนักอนุรักษ์ที่เป็นเหมือนกระจกเงาสะท้อนให้เหล่านักวิจัยทั้งหลาย แม้ว่าในปัจจุบันก็ยังมีกระแสต่อต้านอยู่บ้าง แต่ประโยชน์ของเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมที่เผยแพร่ไปสู่สังคมแล้วก็ให้ประโยชน์ที่คุ้มค่าเช่นกันอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง