วงการทีวี กับการเอาตัวรอดในยุคออนไลน์ 4.0

                ทุกวันนี้จะมีสักกี่คนที่นั่งดูรายการเกมส์โชว์หรือละครหลังข่าวในทีวีอยู่ สมัยก่อนทีวีถือเป็นสื่อที่ใหญ่ที่สุด และทุกคนทุกบ้านสามารถเข้าถึงได้ง่ายที่สุด มีทั้งละคร รายการเกมส์โชว์ รายการข่าว หรือโฆษณาต่าง ๆ ซึ่งรายได้ที่เกิดจากธุรกิจสื่อจากโทรทัศน์นั้น ถือว่าเป็นจำนวนเงินที่สูงมากเลยทีเดียว แต่ไม่ใช่ในยุคนี้ หลายรายการที่ต้องปิดตัวลง เพราะไม่มีคนดู ไม่มีโฆษณามาลง จนทำให้มีเงินไม่เพียงพอที่จะทำรายการต่อได้

นี่เป็นสัญญาณที่น่ากลัวสำหรับวงการโทรทัศน์บ้านเรา เหตุผลเดียวเลยคือทุ กคนหันไปใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คในการเสพสื่อ ในนั้นจะมีเรื่องราวต่าง ๆ มากมายทุกรูปแบบ ให้ได้เสพ ให้ได้ติดตามกันตลอดเวลา รวมไปถึงการแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ในแต่ละเรื่องราวได้ จึงทำให้ทีวีค่อย ๆ เริ่มหมดบทบาทนสังคมไป และกำลังจะตายในไม่ช้า

หลายคนเลือกที่จะเสพสื่อผ่านโลกโซเชียล นอกจากจะสามารถเสพสื่อได้ตลอดเวลาแล้ว ยังสามารถเข้าถึงได้ทุกที่เพียงแค่มีสมาร์ทโฟนกับอินเตอร์เน็ต เราก็สามารถรับรู้เรื่องราวใหม่ ๆ ที่เราอยากรู้ได้ทันทีทันใด

โอกาสชนะของวงการทีวี ยังพอมีอีกบ้างไหม?

                ที่นี่หมอชิตก็เป็นอีกรายการหนึ่งที่ทำมาเกือบ 20 ปี แต่ก็ต้องปิดตัวลงเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2561 เนื่องจากถึงจุดอิ่มตัวและวิกฤติการนับถอยหลังลงของวงการโทรทัศน์ ถ้าถามว่าวงการทีวีบ้านเราจะสามารถกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งได้หรือไม่ พูดได้เลยว่าคงจะเป็นที่ยากมาก เพราะทุกคนเลือกที่จะใช้งานเทคโนโลยีที่ดีกว่า ใหม่กว่าและ รวดเร็วกว่า ซึ่งเราสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่าสิ่งที่ทีวีทำได้ โซเชียลก็ทำได้ และสิ่งที่ทีวีทำไม่ได้ โซเซียลทำได้

ทีวีกับโซเชียลเน็ตเวิร์ค การตลาดที่ห่างกันคนละชั้น

                รายการทีวีมักจะมาคู่กับโฆษณา แหล่งเงินทุนหลักที่ทางรายการจะได้ เพื่อใช้ผลิตรายการของตัวเองออกมาได้ หรือที่เราเรียกกันง่าย ๆ ว่า สปอร์นเซอร์นั่นเอง

เหตุที่เราพบโฆษณามากมายบนจอทีวี เป็นเพราะทีวีเป็นสื่อที่มีขนาดใหญ่ และทุกคนเข้าถึงได้ โฆษณาจึงยอมที่จะสนับสนุนรายการเพื่อให้ตัวเองได้ทำการโปรโมทบนสื่อโทรทัศน์ ซึ่งถือว่าเป็นการตลาดพื้นฐานที่ใช้ได้ผลดีในสมัยที่ทีวีเป็นที่นิยม แต่ตอนนี้อาจจะต้องลองคิดดูอีกที เนื่องจากการที่จะทำโฆษณาชิ้นนึงลงช่องทีวี จำเป็นจะต้องใช้ค่าใช้จ่ายที่สูงมาก เพียงแค่โฆษณาไม่กี่วินาที อาจจะมีค่าใช้จ่ายถึงหลายแสนบาทเลยก็เป็นได้

หลายบริษัทจึงเลือกที่จะทำโฆษณาและปล่อยลงทางสื่อโซเชียลแทน เนื่องจากไม่จำเป็นที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมายเลย เพียงแค่มีเพจ หรือ บัญชีของโซเชียลมีเดียที่ต้องการจะลง และอาจจะเสียค่าโปรโมทรายเดือนซึ่ งเป็นจำนวนที่ไม่มาก สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคนในยุคอยู่เสพสื่อจากโชเชียลเป็นหลัก ซึ่งเป็นช่องทางที่ดีกว่าทีวีในทุกทาง ทำให้การลงโฆษณาหรือทำคลิปไวรอลลงในโซเชียลเน็ตเวิร์คนั้นได้ผลดีกว่าการลงโฆษณนาทางช่องทางทีวี

การพัฒนาของเทคโนโลยีทำให้ผู้ผลิตรายการทีวีได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และหลาย ๆ รายเริ่มใช้วิธีออกอากาศผ่านอินเตอร์เน็ต เริ่มทำช่องผ่าน Youtube ให้สามารถดูย้อนหลังได้ และหลาย ๆ รายการก็ประสบความสำเร็จ มีผู้ชมผ่านการออกอาการสด ๆ เป็น 10 ล้านวิวส่วนบริษัทที่ผลิตทีวีเองกลับยังไม่ยอมแพ้ เริ่มพัฒนาทีวีให้ทันตามกระแสของโลกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ทีวีสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ เล่นโซเชียลเน็ตเวิร์คได้ หรือ คุณภาพภาพและเสียงที่ดีขึ้นมากมาย