เทคโนโลยี BNCT ความหวังใหม่ของผู้ป่วยมะเร็ง

โรคที่น่ากลัวและคร่าชีวิตผู้ป่วยมากที่สุดในปัจจุบันนี้คงหนีไม่พ้นโรคมะเร็งเป็นแน่ หลายคนเชื่อกันว่าเป็นโรคกรรม คือเกิดเนื่องจากพฤติกรรมการดำรงชีวิต หรือสภาพแวดล้อมที่ต้องอยู่เป็นเวลานานๆ มีมะเร็งบางชนิดไม่สามารถตรวจพบได้ในระยะแรกๆ กว่าจะรู้ตัวและตรวจพบก็กินระยะเข้าไประยะที่ 3 หรือ 4 ซึ่งเป็นระยะลุกลามระยะสุดท้ายแล้ว
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่กำลังใจของผู้ป่วยเหล่านั้นย่อมจะถดถอยลงอย่างแน่นอนเมื่อได้รับรู้ว่าตนเองป่วยเป็นมะเร็ง ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ค่อยรอดถ้าเป็นระยะท้ายๆแล้ว โดยเฉพาะมะเร็งสมองซึ่งกว่าที่จะตรวจเจอได้นั้นผู้ป่วยก็เข้าขั้นวิกฤติเสียแล้ว เทคโนโลยี BNCT ( Boron Neutron Capture Therapy ) เป็นเทคโนโลยีใหม่ซึ่งน้อยคนนักจะรู้จักเพราะยังอยู่ในขั้นพัฒนา แต่ก็มีการรักษาผู้ป่วยที่เป็นอาสาสมัครได้สำเร็จมาแล้ว เทคโนโลยีนี้มีความซับซ้อนสูงมากตั้งแต่การผลิตนิวตรอนซึ่งเป็นอนุภาคที่ไม่มีประจุดังนั้นในการผลิตนิวตรอนออกมาให้ได้นั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก ตามมาด้วยการควบคุมพลังงานให้เหมาะสมกับการส่งอนุภาคนิวตรอนนั้นให้ไอโซโทปของโบรอน-10 ซึ่งจะถูกฉีดเข้าไปในบริเวณที่เป็นมะเร็งของผู้ป่วย เซลล์มะเร็งนั้นมีจุดอ่อนอยู่ที่การรับสิ่งต่างๆที่ร่างกายนำเข้าไปเซลล์มะเร็งจะดูดซับไว้ได้ดีกว่าร่างกาย เมื่อฉีดไอโซโทปของโบรอน-10 เข้าไปแล้วเซลล์มะเร็งก็จะดูดซับไว้มากเมื่อทำการยิงอนุภาคนิวตรอนพลังงานต่ำเข้าไปยังจุดนั้น โบรอนก็จะจับนิวตรอนไว้แล้วทำให้เกิดปฏิกิริยาได้รังสีแอลฟาและลิเทียม-11 โดยรังสีแอลฟาจะทำลายเฉพาะเซลล์มะเร็งเท่านั้นโดยไม่เป็นอันตรายกับเนื้อเยื่ออื่นๆใกล้เคียงเลย หลังจากนั้นก็ติดตามผลการรักษาเมื่อหายดีแล้วผู้ป่วยก็สามารถกลับบ้านได้ เป็นวิธีที่ปลอดภัยมากเพราะไม่ต้องผ่าตัด รังสีที่แผ่ออกมานั้นก็สามารถสลายตัวไปได้อย่างรวดเร็ว แต่ต้องอาศัยความชำนาญของแพทย์ต้องแม่นยำมากในเรื่องการหาความลึกของเซลล์มะเร็งเพื่อนำไปคำนวณหาพลังงานที่เหมาะสมของอนุภาคนิวตรอน ไม่เป็นอันตรายต่อผิวหนังภายนอกเพราะอนุภาคนิวตรอนไม่มีประจุจึงสามารถทะลุผ่านเข้าไปทำปฏิกิริยาเฉพาะบริเวณที่ต้องการได้
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีพลิกโลกนี้กำลังเป็นที่สนใจของผู้คนทั่วโลก แต่เหตุที่ไม่มีการให้ข้อมูลเพื่อให้ผู้คนได้รับรู้ข่าวสารนั้นอาจมาจากหลายเหตุผล เหตุผลที่สำคัญที่สุดคือ หากเราทราบกันว่ามีเทคโนโลยีที่สามารถรักษามะเร็งได้ ผู้คนก็จะใช้ชีวิตกันอย่างประมาท ทานอาหารไม่สนรูปแบบหรือชนิดไม่พิถีพิถัน junk food จะกลับมามีบทบาทสำคัญกับวิถีชีวิตมนุษย์อีกครั้ง ซึ่งเหตุการณ์อย่างนี้จะทำให้เกิดความกระทบกระเทือนต่อระบบนิเวศ ผู้คนจะมีความต้องการอาหารมาขึ้น การล่า การใช้ทรัพยากรจะเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ ซึ่งในขณะนี้ก็ยังเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ยังไม่มีแนวทางการควบคุมเหตุการณ์เหล่านี้ แต่ก็มีบางประเทศที่ได้นำเทคโนโลยี BNCT มาใช้รักษากันแล้วเพราะประเทศเค้าเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมากที่สุด ตัวอย่างก็คือมีผู้ป่วยมะเร็งสมองระยะสุดท้ายที่หากเป็นเทคโนโลยีเคมีบำบัดนั้นก็แทบจะเรียกได้ว่าโอกาสเป็นศูนย์เลยทีเดียวเพราะมะเร็งระยะสุดท้ายมันจะเกิดการลุกลามเป็นบริเวณกว้างยากต่อการฉายรังสีได้อย่างทั่วถึง แต่ด้วยเทคโนโลยี BNCT นั้นผู้ป่วยต้องได้รับการฉีดกัมมันตภาพแบบช่วงอายุสั้นเข้าไปคือเป็นกลูโคสที่ผสมกับโบรอน จากนั้นก็นั่งเอาหัวแนบกับเครื่องที่จะยิงอนุภาคนิวตรอนเข้าไป เมื่อเซลล์มะเร็งพบก็จะดูดกลืนสารเหล่านี้เข้าไปซึ่งแน่นอนว่ามันไม่เกี่ยวกับว่ามะเร็งลุกลามไปแค่ไหน แต่มันเป็นเพราะเซลล์มะเร็งเองนั้นชอบแย่งสารอาหารจึงทำให้ในเซลล์มะเร็งมีปริมาณโบรอนเข้มข้นที่สุด จากนั้นก็ทำการยิงอนุภาคนิวตรอนที่ได้รับการคำนวณระดับพลังงานที่เหมาะสมไว้แล้วว่าจะส่งอนุภาคเข้าไปลึกจากเนื้อเยื่อเพียงใด อนุภาคแอลฟ่าจะจับกับโบรอนแล้วปลดปล่อยพลังงานออกมาทำลายเซลล์มะเร็งให้สลายไป ซึ่งร่องรอยที่ถูกทำลายก็ต้องถูกติดตามโดยทีมแพทย์ ด้วยการเอ็กซ์เรย์สมองอยู่เป็นระยะๆ จะพบว่าในระยะแรกนั้นจะเห็นร่องรอยคล้ายรอยไหม้ที่เซลล์มะเร็งถูกทำลาย จากนั้นรอยเหล่านี้ก็จะค่อยๆฟื้นตัวเล็กลงเรื่อยๆจนกระทั่งหายไปในที่สุด การติดตามผลระยะสุดท้ายจะช่วยยืนยันได้ว่าผู้ป่วยได้หายจากอาการหรือยัง จากนั้นก็สามารถไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้ และมาทำการตรวจซ้ำตามเวลาที่หมอนัด เห็นไหมว่าผู้ป่วยไม่ได้รับการผ่าตัดหรือวางยาสลบเลย ฤทธิ์ของกัมมันภาพนั้นก็คงอยู่แค่ 2 ชั่วโมง จากนั้นร่างกายก็กำจัดออกมาในรูปของแอมโมเนีย
คุณก็ลองคิดดูว่าหากมีเทคโนโลยีที่สะดวกแบบนี้ รักษาได้ขนาดนี้ คนจะใช้ชีวิตกันประมาทขนาดไหน แล้วจะคุ้มค่ากันไหมกับการลงทุนที่แสนแพงของเทคโนโลยี BNCT คงต้องรอลุ้นกันต่อไปว่าทางผู้เกี่ยวข้องจะสามารถผลักดันให้เทคโนโลยี BNCT ได้เข้ามาเป็นตัวช่วยในการรักษามะเร็งหรือไม่