เทคโนโลยีการออกแบบยานยนต์

ในบทความนี้จะเน้นไปที่เทคโนโลยีเกี่ยวกับรถยนต์ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร ในอดีตนั้นมนุษย์มีความพยายามในการหาเครื่องมือในการอำนวยความสะดวก การหาเทคโนโลยีในการอำนวยความสะดวกด้านการเดินทางก็เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่นิยมคิดค้นกัน แต่เดิมก็ใช้การขับเคลื่อนด้วยแรงงานสัตว์ หรือแรงงานคน

ก็ไม่ได้อาศัยความรู้ทางเทคโนโลยีอะไรมากมายนัก แต่เมื่อเริ่มมีเครื่องยนต์และตัวรถขึ้นมาแล้วนั้นการอาศัยความรู้ใหม่ๆก็มีมากมายขึ้น ไม่ทราบว่าหลายคนเคยสังเกตและสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่าเหตุใดจึงต้องแบบรถยนต์มาให้มีรูปร่างคล้ายกับเต่าอย่างนั้น

ลักษณะของรถยนต์นั้นใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่าหลักพลศาสตร์ของไหล(Aero dynamics) ที่มีเจ้าของทฤษฎีคือแบร์นูลลี ที่อาศัยหลักการแรงดันของอากาศที่ไหลผ่านตัวรถ(จริงๆแล้วอากาศอยู่ที่เดิมแต่รถเคลื่อนที่ผ่านอากาศไป) เมื่ออากาศผ่านตัวรถด้านบนจะทำให้เกิดแรงดันที่สูงกว่าบริเวณด้านล่างของตัวรถทำให้ตัวรถทั้งหมดสัมผัสพื้นได้ดีกว่า เทคโนโลยีนี้นอกจากช่วยในการทรงตัวของรถที่ดีแล้วยังคำนึงไปถึงเรื่องของการประหยัดเชื้อเพลิงด้วยเพราะด้านหน้ารถที่ออกแบบให้อากาศไหลผ่านได้ง่าย ไม่ต้านลมเครื่องยนต์จึงไม่ต้องรับภาระในการเอาชนะแรงต้านจากอากาศบริเวณด้านหน้ารถ เมื่อมีรถยนต์ที่ใช้ส่วนตัวเทคโนโลยีเหล่านี้จึงได้ถูกนำไปใช้กับรถแข่งที่ต้องใช้ความเร็วสูงในการขับเคลื่อน เป็นโจทย์ที่ท้าทายของวิศวกรที่จะได้ทดสอบทั้งทฤษฎีที่ได้เรียนรู้มากับสถานการณ์จริง และสำหรับรถแข่งนั้นแรงดันที่กระทำต่อตัวรถยิ่งมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นเพราะหากออกแบบไม่ดีในขณะที่ขับนั้นตัวรถอาจไม่ได้ถูกแรงดันกดให้ติดพื้นอยู่และมีผลทำให้รถนั้นเหินขึ้นจากพื้นก็เป็นได้ เทคโนโลยีนี้จึงไปแสดงออกที่สปอยเลอร์ด้านหน้าและด้านหลังของตัวรถ ที่ออกแบบมาให้แบนราบ เพื่อลดแรงต้านอากาศให้มากที่สุด และกลายมาเป็นแฟชันสปอยเลอร์ที่นำมาติดตั้งด้านหลังรถยนต์ส่วนตัว ซึ่งจริงๆแล้วก็ไม่ได้มีส่วนช่วยในเรื่องการขับเคลื่อนซักเท่าใด เพียงแต่ติดตั้งแล้วดูเก๋ดีเท่านั้น ก็แล้วแต่ความชอบกัน

เทคโนโลยีเดียวกันยังถูกนำไปใช้ในการพัฒนารถกระสุนที่ทำความเร็วมากที่สุดในโลก รวมไปถึงรถไฟความเร็วสูงอีกด้วย นั่นจึงเป็นเหตุผลหลักที่ยานยนต์ส่วนมากมีลักษณะที่ลู่ลม ถ้าต้องการให้ความเร็วสูงขึ้นอีกก็ทำให้ด้านหน้าแหลมเรียว และเท่าที่มีการบันทึกไว้ในสถิติโลกรถที่วิ่งได้เร็วที่สุดใช้เครื่องยนต์เจ็ตมาใช้ทดแทนเป็นรถจรวดชื่อว่า Bloodhound SSC ที่สามารถทำความเร็วได้ถึง 1,600 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ประมาณได้ว่าจากเชียงรายไปยังยะลานี่แค่ชั่วโมงเดียวเอง เมื่อดูจากรูปร่างของรถแล้วก็เหมือนกับจรวดดีๆนี่เอง